หนีความผิด??? ผอ.การท่าเรือฯ ลาออกกะทันหัน หลัง อัยการสูงสุด พบ 3 โครงการทุจริตเพียบ!! [bkkshareupdate]







การลาออกของร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ที่มีผลทันทีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ท่ามกลางข้อสงสัยของสังคมว่าเกิดอะไรขึ้นในองค์กรแห่งนี้ ทำไมจึงเป็นการยื่นใบลาออกแบบกระทันหัน โดยให้มีผลวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 แต่บอร์ด กทท.อนุมัติให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 16 มิถุนายน 2560 
นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะกรรมการสอบสวนคดีดังวัดพระธรรมกาย ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผย ว่า ได้รับมอบหมายให้เปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง ระบุว่าช่วงที่ผ่านมาฝ่ายการตรวจสอบของ กทท.ได้ตรวจพบการกระทำความผิดที่ทำให้ กทท.ได้รับความเสียหายและมีการร้องเรียนผู้อำนวยการบอร์ด กทท.จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่ามี 3 ความผิดเกิดขึ้นดังนี้คือ

1.กรณีไม่ดำเนินการ ควบคุม กำกับดูแลให้เป็นไปตามสัญญาของบริษัท เจดับเบิลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (JWD) กับ กทท. ที่พนักงานและผู้เกี่ยวข้องเรียกเก็บเงินค่าภาระไม่ครบถ้วน ถูกต้อง ตามประกาศของ กทท.เรื่องกำหนดค่าธรรมเนียม และค่าบริการเกี่ยวกับตู้สินค้าอันตรายที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทฉบ.) รวมเป็นเงิน 123 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด กทท.มีมติดังนี้คือ ให้กทท.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ตามข้อบังคับว่าด้วยระเบียบ วินัย และการลงโทษพนักงานกทท.พ.ศ.2498 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมกับพนักงาน ทฉบ.ที่ละเลยหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่ และให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างผู้อำนวยการ กทท.กับเรือเอกสุทธินันท์ ที่บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ตามรายงานผลการสอบข้อเท็จจริง กรณีไม่ดำเนินการ ควบคุม กำกับดูแล ให้เป็นไปตามสัญญา
2. นั้นเป็นกรณีการลักลอบขุดทรายที่ ทฉบ. และกระทรวงการคลังได้พิจารณาว่าเรือเอกสุทธินันท์ มีการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้กทท.ได้รับความเสีย หาย และให้ชดใช้ค่าเสียหาย 6,477,885 บาท แต่เรือเอกสุทธินันท์ ยังไม่ชดใช้และได้ยื่นฟ้องกทท.ต่อศาลแรงงาน
ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินคดีของศาลแรงงานกลาง ซึ่งจากรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง บอร์ดกทท. จึงมีมติให้ตำหนิโทษเป็นหนังสือกับ เรือเอกสุทธินันท์ กรณีขาดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร ในฐานะผู้อำนวยการกทท. โดยมีการปกปิดการมีส่วนได้เสียกับคดีการลักลอบขุดทรายที่ทฉบ. และไม่แสดงความโปร่งใสต่อบอร์ดกทท.และพนักงานกทท.
3. เป็นกรณีการจัดโครงการทัศนศึกษา ชีวิตสดใส ในวัยอิสระ พนักงานเกษียณอายุ ปีงบประมาณ 2559 ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการตรวจสอบของ กทท.ได้มีการตักเตือนหลายครั้งว่าไม่มีกฎ ระเบียบรองรับ และใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ จึงให้ผู้รับผิดชอบชดใช้เงินคืน 5,906,300 บาท ซึ่งจากรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงบอร์ด กทท.มีมติให้ กทท. ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ตามข้อบังคับว่าด้วยระเบียบ วินัย และการลงโทษพนักงานกทท. พ.ศ. 2498 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมกับผู้ที่รับผิดชอบในการจัดโครงการทัศนศึกษาดังกล่าว พร้อมกับให้ตั้งคณะกรรมการสอบ สวนการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างกับผู้อำนวยการ กทท. เรือเอกสุทธินันท์ กรณีจงใจทำให้ กทท.ได้รับความเสียหาย






“กรณีลักลอบขุดทรายจาก ทฉบ.ไปถมสนามบินสุวรรณภูมิ พบว่าได้มีการสอบถาม ผอ.แหลมฉบังถึง 3 ครั้งแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ อีกทั้งพบว่าการต่อสัญญายังซิกแซ็กเกิดขึ้นอีก ทฉบ.ยังพบอีกว่ามีเครือข่ายเทมาเสกจากสิงคโปร์มาเช่าสัมปทานขนถ่ายตู้จำนวนมาก ในชื่อบริษัทต่างๆ ซึ่งความผิดเหล่านี้ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลชัดเจนแล้วแต่ประธานบอร์ด กทท.ยังปกปิดเอาไว้เป็นข้อมูลเด็ดเสนอเรือเอกสุทธินันท์จนต้องยื่นหนังสือลาออกเองในที่สุด ไม่มีการบังคับแต่อย่างใด” 

ส่วนเรื่องที่บอร์ดมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ร.ต.ทรงธรรม จันทประสิทธิ์ ผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการ กทท.คนใหม่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้า ได้มีคำสั่งให้ร.ต.ต. มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง รักษาการ เนื่องจากร้อยตำรวจตรีมนตรีมีความเกี่ยวเนื่องกับความผิดหลายคดี 

แหล่งข่าวระดับสูง กทท.ให้ข้อมูลเชิงลึกว่า ยังพบความผิดปกติที่ส่อไปในทางทุจริตของท่าเรือแหลมฉบัง โดยเฉพาะท่าเทียบเรือ A1, A0 คิดเป็นมูลค่านับ 1,000 ล้านบาท จากกรณีเมื่อยกตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นจากท่าเรือแล้วเอาเอกสารไปแสดงการปลอดภาษีมาชำระท่าเรือที่ไม่เสียภาษีระยะเวลานับ 10 ปีเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งเมื่อจำนวนตู้คอนเทนเนอร์เกินจำนวนที่ระบุยังซิกแซ็กไม่เสียภาษีอีกด้วย



cr: http://www.tnews.co.th









x
****************************************ปลาย******************************* เรียนทั้งหมดของผู้เข้าชมที่รัก! ผมขอบคุณมากสำหรับการเยี่ยมชมบล็อกของฉัน! ผมจะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อหาเนื้อหาที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดสำหรับทุกท่าน! กรุณามีความโชคดี! จาก Kroupdate!!! :) *************************************************
1. In the absence of regulatory control, compliance with the contract of the company. Jwd well Information Logistics (JWD) Co., Ltd. (JWD) with the PAT, the employees and related parties to collect the fee is not fully accurate according to the announcement of the fee for the fee. And the service charge for dangerous goods at Laem Chabang Port (TAC) totaled 123 million baht, which the Board of Directors has resolved as follows. To set up the Discipline Examination Committee. According to the regulations on discipline and punishment of employees, EASA, 1955. And revised edition with employees The neglect of duty Defects on duty And set up a committee to investigate the performance of the employment contract. ETA with the Royal Navy Suttanan. Defective in duty According to the results of the examination. In the absence of regulatory control, compliance with the contract.
2. It is a case of illegal sand digging at the DTC and the Ministry of Finance has determined that the ship Suttiyanan There is serious negligence. As a result, PAT has lost and compensated 6,477,885 baht, but the ship Ek Suttanan. I have not paid and filed a lawsuit against the Labor Court to the Labor Court.
Currently under litigation by the Central Labor Court. From the report of the investigation, the Board of Directors has a resolution to blame in the book. Sutti Sutanan Boat In case of lack of good corporate governance As director of the PAT. By concealing the interest in the illegal smuggling lawsuit, And do not show transparency to the Board,

Post a Comment